อย่าพ่วง แบตเตอรี่ รถยนต์ "ขั้วลบ" กับ "ขั้วลบ" โดยตรง

อย่าพ่วง แบตเตอรี่ รถยนต์ "ขั้วลบ" กับ "ขั้วลบ" โดยตรง

อย่าพ่วง แบตเตอรี่ รถยนต์ "ขั้วลบ" กับ "ขั้วลบ" โดยตรง
ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายช่วยเหลือ หรือ เป็นฝ่ายถูกช่วย
รู้ไว้ก่อนปลอดภัยกว่า ป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง

สาเหตุที่ห้ามทำการ พ่วง หรือ จั้ม ไฟแบตเตอรี่โดยตรงเป็นเพราะว่า แบตเตอรี่ลูกที่มีไฟมากกว่า จะถูกส่งกระแสมายังแบตเตอรี่ลูกที่ไฟน้อยกว่า ปฎิกิริยานั้นจะทำให้ น้ำกรดกำมะถันในแบตเตอรี่เกิดการเดือด และ ขยายตัวทำให้คลายก๊าซไฮโดรเจนออกมาตามรูระบายของแบต หากเกิดประกายไฟจากการพ่วงแบตเตอรี่ และ มีก๊าซมากพอ อาจะทำให้เกิดสะเก็ด เกิดการระเบิด หรือ ติดไฟขึ้นได้ เพื่อป้องกันไม่ให้สะเก็ดไฟลุกลาม หรือ เกิดความเสียหายกับแบตเตอรี่ เราแนะนำให้ทำการพ่วงแบตตามขั้นตอนดังนี้

วิธีการพ่วง แบตเตอรี่ รถยนต์ที่ถูกต้อง
1. เริ่มด้วยการนำสายสีแดงคีบ "ขั้วบวก" (รถคันที่แบตเตอรี่หมด)
2. นำสายสีแดงคีบ "ขั้วบวก" (รถคันที่แบตเตอรี่ปกติ)
3. นำสายสีดำคีบ "ขั้วลบ" (รถคันที่แบตเตอรี่ปกติ)
4. นำสายสีดำคีบโครงโลหะ เครื่องยนต์ (รถคันที่แบตเตอรี่หมด)
(ไม่ควรต่อขั้วลบโดยตรง) เพราะโครงรถจะเป็นไฟกราว ในหลายๆจุด ซึ่ง สามารถใช้แทนขั้วลบของรถได้ครับ
5. รถคันที่มาช่วยเหลือควรทำการสตาร์ตรถ ทิ้งไว้อย่างน้อย 3 นาที ก่อน และ หลัง ทำการพ่วงแบตเพื่อให้ไฟได้ทำการหมุนเวียนอย่างเต็มที่ ปิดเครื่องเสียง, แอร์ หรือ ระบบไฟต่างๆที่ไม่จำเป็นก่อน ไม่ควรดับเครื่องทันทีหลังจากทำการพ่วง เพื่อให้ไดร์ ทำการชาร์จไฟเลี้ยงแบตเตอรี่
6. เมื่อสตาร์ตรถแบตเตอรี่คันที่แบตหมดติดแล้ว ให้ทำการเร่งเครื่องสักเล็กน้อย ถ้ารถไม่มีการกระชากดับ ให้ทำการถอดสายออกตามลำดับย้อนกลับไป
7. หากทำการคีบแบตเตอรี่แล้วสตาร์ทไม่ติด ไม่ควรฝืนทำการสตาร์ทต่อ หรือ คีบทิ้งไว้สักระยะแล้วค่อยทำการลองสตาร์ทใหม่

เนื่องจากภายในแบตเตอรี่มีแผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบ ที่ทำด้วยโลหะตะกั่ว (pb) และมีกรดกำมะถัน (H2SO4) ทำหน้าที่เป็นอิเล็กโตรไลท์ (electrolyte) ปฎิกริยาทางเคมีไฟฟ้าของ electrode กับ electrolyte เกิดเป็นกระแสไฟฟ้า การเกิดปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้านี้จะทำให้เกิด "ไฮโดรเจน" ขึ้นภายในแบตเตอรี่จึงมีการออกแบบให้มีรูระบายเพื่อระบายก๊าซออกสู่ภายนอก เพื่อกันไม่ให้แบตเตอรี่เกิดความเสียหายเมื่อก๊าซมีการเพิ่มจำนวนและแรงดันขึ้น ซึ่งแก๊สไฮโดรเจนนี้สามารถติดไฟได้ แบตเตอรี่จึงอาจเกิดการระเบิดได้ จึงห้ามต่อ “ขั้วลบ” กับ “ขั้วลบ” เข้าหากันโดยเด็ดขาด โดยให้หนีบบริเวณชิ้นส่วนโลหะที่เครื่องยนต์ให้ห่างจากแบตเตอรี่อย่างน้อย 50 เซนติเมตรแทนเพื่อป้องกันการเกิดประกายไฟ และ ปัญหาอื่นๆครับผม

หากข้อมูลมีการผิดพลาดประการใดจึงขออภัยไว้ ณ ที่นี้ หากท่านใดที่มีข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถนำมาแบ่งปันประสบการณ์กันได้ที่ใต้คอมเมนท์ครับ