โช้คอัพมีกี่ประเภท ต้องเปลี่ยนเมื่อไหร่?

โช้คอัพมีกี่ประเภท ต้องเปลี่ยนเมื่อไหร่?

16 March 2023


โช้คอัพรถยนต์ (Shock Absorber) อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยรองรับแรงกระแทก ลดแรงสั่นสะเทือนของรถ และยังหน่วงการเคลื่อนที่ขึ้นลงของตัวถังรถยนต์ ให้ล้อรถสัมผัสกับผิวถนนตลอดเวลา การทำงานของโช้คอัพจะควบคุมการยุบและการสั่นของสปริง โดยเปลี่ยนการสั่นสะเทือนจากพลังงานกลไปเป็นพลังงานความร้อน

โช้คอัพรถยนต์ มีกี่ประเภท?
หากแบ่งตามลักษณะในการทำงาน โช้คอัพรถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

โช้คอัพระบบน้ำมัน ทำงานด้วยระบบไฮดรอลิค โดยใช้น้ำมันไฮดรอลิคทำให้เกิดความหนืด หลักการทำงานคือ น้ำมันจะไหลผ่านวาล์วภายในลูกสูบ การทำงานแบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับแรกเป็นแบบความเร็วต่ำ ระดับที่ 2 จะเริ่มมีการควบคุมสมรรถนะในการขับขี่และทรงตัวในความเร็วที่ปกติ และระดับที่ 3 วาล์วจะทำงานเมื่อแกนโช้คเคลื่อนตัวตอนที่รถใช้ความเร็วสูง แต่ข้อเสียของโช้คอัพระบบน้ำมันคือ จะมีฟองอากาศเกิดขึ้นภายในน้ำมันไฮดรอลิค ทำให้โช้คอัพทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

โช้คอัพระบบแก๊ส จะมีการทำงานร่วมกันระหว่างแก๊สไนโตรเจน และน้ำมันไฮดรอลิค เมื่อโช้คอัพได้รับแรงสะเทือนจากพื้นถนน ลูกสูบของโช้คอัพจะเลื่อนตัวลงมาด้านล่างของกระบอกลูกสูบ น้ำมันไฮดรอลิคที่บรรจุในกระบอกสูบนั้น ส่วนหนึ่งจะไหลผ่านวาล์วขึ้นไปห้องน้ำมันด้านบน และอีกส่วนจะไหลผ่านวาล์วด้านล่างเข้าไปในห้องน้ำมันสำรอง ซึ่งในห้องน้ำมันสำรองจะไปอัดแก๊สไนโตรเจนให้เกิดแรงดัน และเมื่อแก๊สมีแรงดัน ก็จะดันน้ำมันไฮโดรลิคที่อยู่ในห้องน้ำมันสำรอง กลับเข้าสู่กระบอกสูบดังเดิมซึ่งแรงดันที่เกิดขึ้นก็จะทำให้ฟองอากาศแตกตัว จึงทำให้ไม่มีฟองอากาศเข้ามาขวางการทำงานของโช้คอัพ

 

ต้องเปลี่ยนโช้คอัพเมื่อไหร่?
- ลองไปยืนบริเวณด้านหน้ารถยนต์ กดรถแล้วปล่อย ถ้าโช้คอัพปกติ เมื่อออกแรงกดจะมีการยุบตัว และเมื่อปล่อยก็คืนตัวปกติ แต่ถ้ามีอาการเด้งขึ้นลงหลายๆ ครั้งแสดงว่าโช้คอัพเสื่อมสภาพ
- สังเกตรอยรั่วของน้ำมันไฮดรอลิคซีลโช้คอัพ ถ้าพบว่ามีคราบน้ำมันเปรอะเปื้อนบริเวณแกนโช้คอัพ แสดงว่ามีการรั่วซึมเกิดขึ้น
- สังเกตลักษณะตัวโช้คอัพ ว่าเกิดรอยบุบหรือมีการบิดเบี้ยวของกระบอกโช้คหรือไม่
- สังเกตบริเวณหน้ายางของรถยนต์ หน้ายางสึกไม่สม่ำเสมอกัน ทั้งที่ตั้งศูนย์ถ่วงล้อถูกต้องตามปกติแล้ว
- หลังจากใช้งานรถยนต์ เมื่อจอดรถให้ใช้มือสอดเข้าไปสัมผัสกับกระบอกโช้คอัพทันที ถ้ากระบอกโช้คอัพมีความร้อนแสดงว่ายังสามารถใช้งานได้ แต่ถ้ามีอุณหภูมิปกติ แสดงว่าโช้คอัพไม่มีการทำงานเกิดขึ้น
- สังเกตเวลาขับขี่ ในขณะที่รถเริ่มออกตัวตามความเร็วปกติ ถ้าหน้ารถเชิดขึ้น และลองเบรกดูแล้วหน้ารถทิ่มลง แสดงว่าโช้คอัพเริ่มเสื่อมสภาพ
- ขับรถขึ้นสะพาน ขึ้นเนิน หรือลงหลุม แล้วมีการกระเด้งกระดอนขึ้นลง หรือขับแล้วรถไม่นิ่มเหมือนเก่า
- เมื่อรถวิ่งอยู่ พอถูกลมปะทะจากด้านข้าง รู้สึกถึงการเสียการทรงตัว
- เปลี่ยนโช้คเมื่อถึงเวลา เพราะย่อมต้องเสื่อมสภาพตามกาลเวลา โดยระยะเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 5 ปี หรือ 100,000 กม.

 

ข้อมูลจาก : yukonlubricants.com


ติดต่อและติดตามข่าวสาร
โทร : 02-056-0222
Line : @toyotasummit
IG : toyotasummit
Youtube : Toyota Summit
Tiktok : Toyotasummit


โช้คอัพรถยนต์ (Shock Absorber) อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยรองรับแรงกระแทก ลดแรงสั่นสะเทือนของรถ และยังหน่วงการเคลื่อนที่ขึ้นลงของตัวถังรถยนต์ ให้ล้อรถสัมผัสกับผิวถนนตลอดเวลา การทำงานของโช้คอัพจะควบคุมการยุบและการสั่นของสปริง โดยเปลี่ยนการสั่นสะเทือนจากพลังงานกลไปเป็นพลังงานความร้อน

โช้คอัพรถยนต์ มีกี่ประเภท?
หากแบ่งตามลักษณะในการทำงาน โช้คอัพรถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

โช้คอัพระบบน้ำมัน ทำงานด้วยระบบไฮดรอลิค โดยใช้น้ำมันไฮดรอลิคทำให้เกิดความหนืด หลักการทำงานคือ น้ำมันจะไหลผ่านวาล์วภายในลูกสูบ การทำงานแบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับแรกเป็นแบบความเร็วต่ำ ระดับที่ 2 จะเริ่มมีการควบคุมสมรรถนะในการขับขี่และทรงตัวในความเร็วที่ปกติ และระดับที่ 3 วาล์วจะทำงานเมื่อแกนโช้คเคลื่อนตัวตอนที่รถใช้ความเร็วสูง แต่ข้อเสียของโช้คอัพระบบน้ำมันคือ จะมีฟองอากาศเกิดขึ้นภายในน้ำมันไฮดรอลิค ทำให้โช้คอัพทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

โช้คอัพระบบแก๊ส จะมีการทำงานร่วมกันระหว่างแก๊สไนโตรเจน และน้ำมันไฮดรอลิค เมื่อโช้คอัพได้รับแรงสะเทือนจากพื้นถนน ลูกสูบของโช้คอัพจะเลื่อนตัวลงมาด้านล่างของกระบอกลูกสูบ น้ำมันไฮดรอลิคที่บรรจุในกระบอกสูบนั้น ส่วนหนึ่งจะไหลผ่านวาล์วขึ้นไปห้องน้ำมันด้านบน และอีกส่วนจะไหลผ่านวาล์วด้านล่างเข้าไปในห้องน้ำมันสำรอง ซึ่งในห้องน้ำมันสำรองจะไปอัดแก๊สไนโตรเจนให้เกิดแรงดัน และเมื่อแก๊สมีแรงดัน ก็จะดันน้ำมันไฮโดรลิคที่อยู่ในห้องน้ำมันสำรอง กลับเข้าสู่กระบอกสูบดังเดิมซึ่งแรงดันที่เกิดขึ้นก็จะทำให้ฟองอากาศแตกตัว จึงทำให้ไม่มีฟองอากาศเข้ามาขวางการทำงานของโช้คอัพ

 

ต้องเปลี่ยนโช้คอัพเมื่อไหร่?
- ลองไปยืนบริเวณด้านหน้ารถยนต์ กดรถแล้วปล่อย ถ้าโช้คอัพปกติ เมื่อออกแรงกดจะมีการยุบตัว และเมื่อปล่อยก็คืนตัวปกติ แต่ถ้ามีอาการเด้งขึ้นลงหลายๆ ครั้งแสดงว่าโช้คอัพเสื่อมสภาพ
- สังเกตรอยรั่วของน้ำมันไฮดรอลิคซีลโช้คอัพ ถ้าพบว่ามีคราบน้ำมันเปรอะเปื้อนบริเวณแกนโช้คอัพ แสดงว่ามีการรั่วซึมเกิดขึ้น
- สังเกตลักษณะตัวโช้คอัพ ว่าเกิดรอยบุบหรือมีการบิดเบี้ยวของกระบอกโช้คหรือไม่
- สังเกตบริเวณหน้ายางของรถยนต์ หน้ายางสึกไม่สม่ำเสมอกัน ทั้งที่ตั้งศูนย์ถ่วงล้อถูกต้องตามปกติแล้ว
- หลังจากใช้งานรถยนต์ เมื่อจอดรถให้ใช้มือสอดเข้าไปสัมผัสกับกระบอกโช้คอัพทันที ถ้ากระบอกโช้คอัพมีความร้อนแสดงว่ายังสามารถใช้งานได้ แต่ถ้ามีอุณหภูมิปกติ แสดงว่าโช้คอัพไม่มีการทำงานเกิดขึ้น
- สังเกตเวลาขับขี่ ในขณะที่รถเริ่มออกตัวตามความเร็วปกติ ถ้าหน้ารถเชิดขึ้น และลองเบรกดูแล้วหน้ารถทิ่มลง แสดงว่าโช้คอัพเริ่มเสื่อมสภาพ
- ขับรถขึ้นสะพาน ขึ้นเนิน หรือลงหลุม แล้วมีการกระเด้งกระดอนขึ้นลง หรือขับแล้วรถไม่นิ่มเหมือนเก่า
- เมื่อรถวิ่งอยู่ พอถูกลมปะทะจากด้านข้าง รู้สึกถึงการเสียการทรงตัว
- เปลี่ยนโช้คเมื่อถึงเวลา เพราะย่อมต้องเสื่อมสภาพตามกาลเวลา โดยระยะเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 5 ปี หรือ 100,000 กม.


โช้คอัพรถยนต์ (Shock Absorber) อุปกรณ์สำคัญที่ช่วยรองรับแรงกระแทก ลดแรงสั่นสะเทือนของรถ และยังหน่วงการเคลื่อนที่ขึ้นลงของตัวถังรถยนต์ ให้ล้อรถสัมผัสกับผิวถนนตลอดเวลา การทำงานของโช้คอัพจะควบคุมการยุบและการสั่นของสปริง โดยเปลี่ยนการสั่นสะเทือนจากพลังงานกลไปเป็นพลังงานความร้อน

โช้คอัพรถยนต์ มีกี่ประเภท?
หากแบ่งตามลักษณะในการทำงาน โช้คอัพรถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

โช้คอัพระบบน้ำมัน ทำงานด้วยระบบไฮดรอลิค โดยใช้น้ำมันไฮดรอลิคทำให้เกิดความหนืด หลักการทำงานคือ น้ำมันจะไหลผ่านวาล์วภายในลูกสูบ การทำงานแบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับแรกเป็นแบบความเร็วต่ำ ระดับที่ 2 จะเริ่มมีการควบคุมสมรรถนะในการขับขี่และทรงตัวในความเร็วที่ปกติ และระดับที่ 3 วาล์วจะทำงานเมื่อแกนโช้คเคลื่อนตัวตอนที่รถใช้ความเร็วสูง แต่ข้อเสียของโช้คอัพระบบน้ำมันคือ จะมีฟองอากาศเกิดขึ้นภายในน้ำมันไฮดรอลิค ทำให้โช้คอัพทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร

โช้คอัพระบบแก๊ส จะมีการทำงานร่วมกันระหว่างแก๊สไนโตรเจน และน้ำมันไฮดรอลิค เมื่อโช้คอัพได้รับแรงสะเทือนจากพื้นถนน ลูกสูบของโช้คอัพจะเลื่อนตัวลงมาด้านล่างของกระบอกลูกสูบ น้ำมันไฮดรอลิคที่บรรจุในกระบอกสูบนั้น ส่วนหนึ่งจะไหลผ่านวาล์วขึ้นไปห้องน้ำมันด้านบน และอีกส่วนจะไหลผ่านวาล์วด้านล่างเข้าไปในห้องน้ำมันสำรอง ซึ่งในห้องน้ำมันสำรองจะไปอัดแก๊สไนโตรเจนให้เกิดแรงดัน และเมื่อแก๊สมีแรงดัน ก็จะดันน้ำมันไฮโดรลิคที่อยู่ในห้องน้ำมันสำรอง กลับเข้าสู่กระบอกสูบดังเดิมซึ่งแรงดันที่เกิดขึ้นก็จะทำให้ฟองอากาศแตกตัว จึงทำให้ไม่มีฟองอากาศเข้ามาขวางการทำงานของโช้คอัพ

 

ต้องเปลี่ยนโช้คอัพเมื่อไหร่?
- ลองไปยืนบริเวณด้านหน้ารถยนต์ กดรถแล้วปล่อย ถ้าโช้คอัพปกติ เมื่อออกแรงกดจะมีการยุบตัว และเมื่อปล่อยก็คืนตัวปกติ แต่ถ้ามีอาการเด้งขึ้นลงหลายๆ ครั้งแสดงว่าโช้คอัพเสื่อมสภาพ
- สังเกตรอยรั่วของน้ำมันไฮดรอลิคซีลโช้คอัพ ถ้าพบว่ามีคราบน้ำมันเปรอะเปื้อนบริเวณแกนโช้คอัพ แสดงว่ามีการรั่วซึมเกิดขึ้น
- สังเกตลักษณะตัวโช้คอัพ ว่าเกิดรอยบุบหรือมีการบิดเบี้ยวของกระบอกโช้คหรือไม่
- สังเกตบริเวณหน้ายางของรถยนต์ หน้ายางสึกไม่สม่ำเสมอกัน ทั้งที่ตั้งศูนย์ถ่วงล้อถูกต้องตามปกติแล้ว
- หลังจากใช้งานรถยนต์ เมื่อจอดรถให้ใช้มือสอดเข้าไปสัมผัสกับกระบอกโช้คอัพทันที ถ้ากระบอกโช้คอัพมีความร้อนแสดงว่ายังสามารถใช้งานได้ แต่ถ้ามีอุณหภูมิปกติ แสดงว่าโช้คอัพไม่มีการทำงานเกิดขึ้น
- สังเกตเวลาขับขี่ ในขณะที่รถเริ่มออกตัวตามความเร็วปกติ ถ้าหน้ารถเชิดขึ้น และลองเบรกดูแล้วหน้ารถทิ่มลง แสดงว่าโช้คอัพเริ่มเสื่อมสภาพ
- ขับรถขึ้นสะพาน ขึ้นเนิน หรือลงหลุม แล้วมีการกระเด้งกระดอนขึ้นลง หรือขับแล้วรถไม่นิ่มเหมือนเก่า
- เมื่อรถวิ่งอยู่ พอถูกลมปะทะจากด้านข้าง รู้สึกถึงการเสียการทรงตัว
- เปลี่ยนโช้คเมื่อถึงเวลา เพราะย่อมต้องเสื่อมสภาพตามกาลเวลา โดยระยะเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 5 ปี หรือ 100,000 กม.